ข้อมูลสารสนเทศด้านอาชีพ

การบัญชี

ระดับ ปวช. เน้นการศึกษาเกี่ยวกับ การปฏิบัติงานบัญชีของกิจการประเภทธุรกิจบริการ ธุรกิจ ซื้อขายสินค้า ธุรกิจอุตสาหกรรม ให้เข้าใจและมีทักษะในกระบวนการปฏิบัติงานบัญชี ที่ใช้ในการควบคุมการตรวจสอบงานบัญชีและการชำระภาษีของกิจการและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้สำเร็จในสาขาวิชานี้ สามารถนำความรู้ความสามารถไปประกอบอาชีพทางบัญชีได้ ไม่ว่าจะเป็นนักบัญชีในหน่วยงานของรัฐบาลและธุรกิจเอกชน และงานด้านธุรกิจอื่นๆ รวมทั้งประกอบอาชีพธุรกิจของตนเองได้ต่างๆ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาลัยวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏ ฯลฯ

การตลาด

ระดับ ปวช. เน้นการศึกษาเกี่ยวกับ การขายปลีกและขายส่ง การจัดแสดงสินค้า การโฆษณา การหาข้อมูลทางการตลาด การจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ การจัดซื้อ การส่งเสริมการขาย การบรรจุภัณฑ์ ภาษาจีน เน้นฝึกปฏิบัติจริง สร้างรายได้ให้แก่ตนเอง ตั้งแต่เริ่มเรียนในสาขาวิชานี้

ผู้สำเร็จในสาขาวิชานี้ นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาสามารถนำความรู้สมัครเข้าทำงานในหน่วยต่างๆ ทั้งในหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจ และธุรกิจเอกชน ตลอดจนใช้ความสามารถและประสบการณ์จากการศึกษาไปประกอบอาชีพของตนเองได้ หลักสูตรนี้ยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับทั้งทฤษฎีและประสบการณ์ในทางปฏิบัติซึ่งเปิดทางไปศึกษาต่อในสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างมาก เช่น มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ฯลฯ

คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

เน้นการศึกษาเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพหลักการเขียนโปรแกรม หลักเศรษฐศาสตร์ ระบบฐานข้อมูล การออกแบบและพัฒนาโปรแกรม การเขียนโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ปฏิบัติการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ การเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTML การใช้โปรแกรมนำเสนอและสื่อประสมในงานธุรกิจการพัฒนาซอฟแวร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

ผู้สำเร็จในสาขาวิชานี้ จบแล้วมีงานทำ กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน อาชีพอิสระ เจ้าของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ รับพิมพ์เอกสาร รับประกอบ-ซ่อมคอมพิวเตอร์ รับทำนามบัตร ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ตำแหน่งงาน เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เจ้าหน้าที่ธุรการประชาสัมพันธ์ งานสารบรรณ งานวิจัย ช่างเทคนิคด้านคอมพิวเตอร์ ผู้ช่วยโปรแกรมเมอร์ ผู้ช่วยดูแลระบบ ผู้ดูแลระบบ Web Master

ศึกษาต่อในระดับสูงในสถาบันของการอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน

เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตลาดแรงงานต้องการผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างแท้จริง ซึ่งงานด้านนี้จะรวมถึง งานด้านการออกแบบโปรแกรมต่างๆ โปรแกรมใช้งานบนเว็บ งานด้านการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ งานด้านฐานข้อมูล งานด้านระบบเครือข่าย ทั้งในและนอกองค์กร รวมถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย ดังนั้นองค์กรจึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ และพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อใช้งานด้านต่างๆ ขององค์กร ตัวอย่างอาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น

  • นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer)ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น โปรแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าโปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร
  • นักวิเคราะห์ระบบ (System analyst) ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย
  • ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล (Database administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการฐานข้อมูล(Database) รวมถึงการออกแบบ บำรุงรักษาข้อมูล และการดูแลระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล เช่น การกำหนดบัญชีผู้ใช้ การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้
  • ผู้ดูแลและบริหารระบบ (System administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ การติดตั้งฮาร์ดแวร์ การติดตั้งและการปรับปรุงซอฟต์แวร์ สร้าง ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้ สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย
  • ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย (Network administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายขององค์กร เช่น ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายของพนักงานและติดตั้งโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเครือข่าย
  • ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (Webmaster)ทำหน้าที่ออกแบบพัฒนา ปรับปรุงและบำรุงรักษาเว็บไซต์ให้มีความทันสมัย โดยเฉพะอย่างยิ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
  • เจ้าหน้าที่เทคนิค (Technician)
    ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งโปรแกรม หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ต่างๆ และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในองค์กร
  • นักเขียนเกม (Game maker)ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้การเขียนเกมคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย

ธุรกิจค้าปลีก

เน้นการศึกษาเกี่ยวกับ การจัดการธุรกิจเบื้องต้น ธุรกิจทั่วไป การขาย คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพบัญชีเบื้องต้น ธุรกิจค้าปลีก ศิลปะการขาย การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ การสนทนาภาษอังกฤษ การจัดแสดงสินค้า และจัดให้มีการศึกษารายวิชาพื้นฐานประกอบด้วย ภาษาไทยภาษาอังกฤษ สังคม คณิตศาสตร์

จัดให้มีการฝึกอาชีพที่สถานประกอบการจริง ซึ่งมีการดำเนินงานเป็นที่ยอมรับและประสบผลสำเร็จทำให้มีประสบการณ์ตรงมีความรู้และทักษะในธุรกิจค้าปลีก เช่น บริษัท เซเว่นอีเลฟเว่น ห้างสรรพสินค้าเป็นต้น

ผู้สำเร็จในสาขาวิชานี้ สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพอิสระเป็นเจ้าของสถานประกอบการขนาดย่อมหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นที่สถาบันของการอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ฯลฯ

วิจิตรศิลป์

เน้นการศึกษาเกี่ยวกับ ความรู้ทั่วไปของศิลปะ องค์ประกอบศิลป์ การวาดเขียน จิตรกรรมสร้างสรรค์ จิตรกรรมไทย ประติมากรรม คอมพิวเตอร์กราฟิก การเขียนป้าย การถ่ายภาพสร้างสรรค์ ฝึกประสบการณ์ทำงานในสถานประกอบการ 1 ภาคเรียนและเรียนวิชาพื้นฐานด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

ผู้สำเร็จในสาขาวิชานี้ นำความรู้ไปประกอบอาชีพอิสระ ได้แก่ การวาดภาพคนเหมือน การเขียนป้ายโฆษณา เขียนภาพทิวทัศน์ ทำกรอบรูป ช่างศิลป์ OTOP ทำงานเป็นพนักงานของรัฐ เอกชน ในหน้าที่กำแหน่ง เจ้าหน้าที่งานศิลปะของโรงแรม โรงพยาบาล ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ งานอาคารสถานที่ ตลอดจนสามารถทำรายได้เสริมในลักษณะงานต่างๆ เช่น ช่างเขียนลายบนเซรามิค ช่างอาร์ตเวิร์คในงานพิมพ์ ช่างแกะสลักน้ำแข็ง ช่างปั้นพระพุทธรูป ช่างหล่อ ช่างเพ้นท์ ช่างปั้นสัตว์หิมพานต์ ช่างเขียนการ์ตูน ช่างตัดสติกเกอร์ ช่างเขียนสีรูป สีน้ำ สีน้ำมัน ฯลฯ และสามารถศึกษาต่อในสถาบันของอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง วิทยาเขตพระนครใต้ วิทยาลัยช่างศิลป์ มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ในคณะจิตรกรรม ศิลปกรรม วิจิตรศิลป์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์

คอมพิวเตอร์กราฟิก

เน้นการศึกษาเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์เพื่อการอาชีพ คอมพิวเตอร์ธุรกิจเพื่อการอาชีพ การถ่ายภาพ งานห้องมืดเบื้องต้น การประยุกต์การถ่ายภาพเพื่อประกอบอาชีพ ความคิดสร้างสรรค์ การจัดการธุรกิจเบื้องต้น คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย การถ่ายภาพ โฆษณา เทคนิคการจัดแสงเพื่อผลพิเศษ การถ่ายทำ วีดิทัศน์ จัดให้มีการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง

ผู้สำเร็จในสาขาวิชานี้ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพอิสระ เช่น ช่างภาพ ช่างตกแต่งภาพ ช่างตัดต่อภาพ เขียนป้ายออกแบบ การถ่ายทำวีดีทัศน์ หรือทำงานในบริษัท ห้างร้าน ของภาพเอกชน เช่น ในตำแหน่ง ช่างศิลป์ ช่างกราฟิก ออแบบเว็บไซต์ใน Internet เป็นเจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูล ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เป็นอาจารย์สอนใน สถานศึกษาทุกระดับชั้นของทุกสังกัด

ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นถึงระดับปริญญาตรีที่สถาบันของการอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยราภัฏ มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศในคณะนิเทศศาสตร์

อาหารและโภชนาการ

เน้นการศึกษาเกี่ยวกับ โภชนาการ อาหารไทย หลักการประกอบอาหาร ศิลปะประดิษฐ์ การสุขาภิบาลอาหาร อาหารนานาชาติ อาหารว่าง เครื่องดื่ม ไอศกรีม ศิลปะการออกแบบ ศิลปะการตกแต่งโต๊ะอาหาร ขนมไทย เบเกอรี่เบื้องต้น การถนอมอาหารและแปรรูปอาหาร การบรรจุภัณฑ์อาหาร เค้กและการแต่งหน้าเค้ก เบอเกอรี่เพื่อการค้า กาปฏิบัติการในห้องอาหาร วิทยาศาสตร์การอาหาร การจัดอาหารในสถาบัน การจัดบริการอาหารและเครื่องดื่ม การฝึกประสบการณ์ใน สถานประกอบการจริง ทั้งภาครัฐและเอกชน การฝึกงานในโรงแรมที่มีชื่อเสียง การเรียนวิชา พื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์

ผู้สำเร็จในสาขาวิชานี้ สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชน เช่น สถาบันของการอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ประกอบอาชีพตามความต้องการของตนเองและตลาดแรงงาน ได้แก่ นักโภชนาการ นักกำหนดอาหาร วิทยากร ภูมิปัญญาไทย โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ฝ่ายจัดเลี้ยง พนักงานประกอบอาหาร หัวหน้าสวัสดิการอาหาร ผู้จัดการแผนกเบเกอรี่ หัวหน้าแผนกครัวไทย งานแม่บ้าน งานโรงพยาบาล ครูอนุบาล ผู้จัดการห้องอาหารในโรงแรมหรือภัตตาคาร เปิดสถานดูแลผู้สูงอายุ สถานรับเลี้ยงเด็ก งานแม่บ้านโรงพยาบาล โรงแรม โรงเรียน

การโรงแรม

เทคโนโลยีอาหารฐานวิทยาศาสตร์

  • อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
    บัณฑิตที่จบการศึกษาสามารถประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รัฐวิสาหกิจ วิสาหกิจชุมชน ชุมชน และธุรกิจส่วนตัว ได้แก่
  • นักวางแผนหรือออกแบบกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
  • นักควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
  • นักควบคุมและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
  • นักวิเคราะห์ส่วนประกอบและสารตกค้างในอาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
  • นักควบคุมการสุขาภิบาลและความปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
  • นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
  • นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การอาหารในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  • การทำงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น การขาย การส่งเสริมการตลาด การวางแผนการตลาด การวิเคราะห์ข้อมูล และประกอบธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น