การฝึกงาน/การฝึกอาชีพ

งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
bilateral vocational education section

การฝึกงาน/การฝึกอาชีพ

การฝึกงาน เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับภาคการผลิตหรือภาคบริการหลังจากผู้เรียนได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกหัดปฏิบัติเบื้องต้นในสถานศึกษาแล้วระยะหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับการปฏิบัติงานอาชีพ เครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ทันสมัยและบรรยากาศการทำงานทางธุรกิจที่ต้องแข่งขันในการรักษาคุณภาพ และมาตรฐานของงาน รวมทั้งการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเกิดความมั่นใจและ เจตคติที่ดีในการทำงานและการประกอบอาชีพอิสระ เพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพของนักเรียน นักศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จึงได้กำหนดหลักการฝึกงานดังนี้

1. เป็นการจัดฝึกประสบการณ์อาชีพให้กับผู้เรียนในระบบ  ที่เน้นการศึกษาในสถานศึกษาเป็นหลัก
2. เป็นการจัดฝึกประสบการณ์งานอาชีพตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
3. เป็นการจัดฝึกประสบการณ์งานอาชีพ โดยเน้นการสร้างระบบครือข่าย  และการมีส่วนร่วม ในการจัดการอาชีวศึกษากับสถานประกอบการ 
    ชุมชน ท้องถิ่น และเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศ และต่างประเทศทั้งนี้ให้เป็นไปตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา
4. เป็นการจัดฝึกประสบการณ์งานอาชีพที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะในการปฏิบัติงานเพื่อการนำไปสู่  
    การประกอบอาชีพทั้งการจ้างงานและการประกอบอาชีพอิสระ

วัตถุประสงค์ของการฝึกงาน

  1. เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสเรียนรู้และได้รับประสบการณ์ชีวิตการทำงานที่แท้จริง
  2. เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมก่อนที่จะจบออกไปทำงาน
  3. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมภายนอกวิทยาลัยฯ
  4. เพื่อให้นักศึกษานำประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกงานมาประยุกต์ใช้ในการทำงานต่อไป

    4 ข้อที่บอกว่า ‘การฝึกงานแท้จริง ไม่ได้มีค่าแค่เกรดเฉลี่ย’

ความหมายจริงๆ ของการฝึกงาน ไม่ได้ให้แค่เกรดเฉลี่ยแต่จะให้สิ่งนี้กับคุณ….

               บางคนเลือกที่ฝึกงาน ง่ายๆ สบายๆ เพราะไม่ต้องทำอะไรมาก แถมเกรดเฉลี่ยที่ได้ออกมานั้นสูงซะด้วย และเข้าใจว่า การที่ตนมาฝึกงานอยู่นี้ เพียงแค่ทำตามแผนการเรียนที่ทางมหาวิทยาลัยวางไว้ เพื่อที่จะได้จบออกไป วิ่งหางานทำ การที่คิดแบบนี้ ถือเป็นการปิดกั้นโอกาสของตัวเอง แถมยังปิดกั้นประสบการณ์มากมายที่จะเข้ามา

 #ประสบการณ์การทำงาน

สิ่งที่คุณจะไม่มีวันหาได้ ถึงแม้เรียนเป็น10ปี นั้นคือการได้สัมผัสกับการทำงานอย่างแท้จริง การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ภายใต้วัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ คิดจริง ลงมือปฏิบัติงานภายใต้ความกดดัน เพื่อฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา สิ่งเหล่านี้คุณสามารถเรียนรู้ได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นแค่เด็กฝึกงาน แต่การเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานนั้น

 #ความรู้ (ที่หาไม่ได้ในห้องเรียน)

สิ่งที่เรียนมาบางอย่าง เราอาจจะไม่ได้ใช้ในการทำงาน และการทำงาน เราอาจจะต้องเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้น การที่เราได้ฝึกงานก่อน เหมือนเป็นการเทรนการทำงานจริงๆ เราจะได้เรียนรู้ เทคนิค หรือ เครื่องมือใหม่ๆ ที่ทางมหาลัยไม่มีสอน ร่วมถึงหลักการพูด ระบบโครงสร้าง การทำงานต่างๆ

 #Connection

connection หรือ สายสัมพันธ์ ทั้งตัวบุคคลหรือกลุ่มองค์กร ไม่ว่าจบไปเราจะมีกิจการเป็นของตนเอง หรือ ทำงานประจำ สิ่งที่จะช่วยเราได้ ยิ่งรู้จักคนมาก ก็จะยิ่งมีการเเลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์ได้มาก ยกตัวอย่างเช่น หากเราไปฝึกงานด้านดีไซน์เนอร์ เจอเพื่อนจากมหาลัยอื่น และทำความรู้จักกัน  แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน หลังจบมาทำงานเป็น ดีไซน์เนอร์ อาจเจอเพื่อนคนนี้ อยู่ในวงการเดียวกัน และสามารถช่วยเหลือกันได้

 #โอกาส

สิ่งสำคัญที่สุด ในการฝึกงาน คือ มันจะ ช่วยเปิดโอกาสให้คุณได้งาน เพียงแค่โชว์ความสามารถ เเละความรู้ที่เรียนมา มันอาจจะทำให้คุณได้งานโดยที่ไม่ต้องไปวิ่งแข่งหางานกับคนเป็นหมื่นพัน หลังเรียนจบ

 เพราะฉะนั้น ถ้าให้ความใส่ใจในการเลือกที่ฝึกงาน และใส่ใจกับการฝึกงาน มันอาจเปลี่ยนชีวิตของคุณเลยก็ได้!!

“ จะไปวิ่งแข่งกันหางานกับคนเป็นหมื่น เป็นพัน ทำไม ในเมื่อคุณสามารถทำมันได้ตั้งแต่ตอน ฝึกงาน ”

ปรับปรุงข้อมูลโดย : งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี